Friday, July 07, 2006

สุนทรียะ = ไสยะ ?

“ ศาสตร์การออกแบบที่ไร้ศิลปะเป็นแรงส่ง
ย่อมแร้นแค้นถึงรากเหง้า ”
“ Design education without support from fine arts
is fundamentally impoverished. ”
Coldstream, 1960


บทความ " สุนทรียะ = ไสยะ ? " นำเสนอในการประชุมสาระศาสตร์เมื่อ ตุลาคม 2547
เขียนขึ้นเพราะอัดอั้นตันใจ จากการที่โดนมรสุมทางวิชาการ ว่าผมฝักใฝ่ศิลปะจนพาลูกศิษย์ที่เรียนวิชาการออกแบบ เข้ารกเข้าพงไปกับความเพ้อเจ้อของศิลปะ (อย่างที่หลายคนในเมืองไทยชอบโมเมเอาว่าศิลปะเป็นอย่างนั้น)

บทคัดย่อ
บทความนี้ เกิดจากประสบการณ์ตรงของผู้เขียนทั้งในฐานะผู้เรียนและผู้สอนของภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ทำให้ผู้เขียนสังเกตเห็นความขัดข้องในกระบวนการคิดของผู้เรียน และตั้งสมมติฐานว่าความขัดข้องดังกล่าวอาจเป็นผลมาจากวาทกรรมกระแสหลักว่าด้วยสุนทรียะที่แพร่ออกจากสถาบันอุดมศึกษาแห่งนี้ วาทกรรมดังกล่าวกล่าวว่า สุนทรียะเป็นส่วนเกินของงานออกแบบ ไม่ใช่เรื่องสำคัญของการออกแบบ และ(หากใช้คำว่า ศิลปะ แทนคำว่า สุนทรียะ)เป็นศาสตร์ที่แยกขาดจากศาสตร์การออกแบบ บทความนี้ ตั้งคำถามท้าทายวาทกรรมดังกล่าวว่า “สุนทรียะเป็น“หน้าที่” ของงานออกแบบ ได้หรือไม่” และ “สุนทรียะเป็น“ประเด็นหลัก” ของงานออกแบบ ได้หรือไม่” คำถามทั้งหลายนำไปสู่การเสนอทิศทางที่อาจช่วยให้ผู้สอนศาสตร์การออกแบบสามารถดึงเอาสุนทรียะกลับมาอยู่ในกระบวนการเรียนการสอนของภาควิชาฯอีกครั้งหนึ่ง และทั้งคำถามและข้อเสนอเหล่านี้อาจเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนในศาสตร์ใกล้เคียงกันในสถาบันอื่นๆ ซึ่งอาจได้รับอิทธิพลจากวาทกรรมที่กล่าวถึงในบทความนี้

ถ้าไม่เบื่อตายซะก่อน ตามไปอ่านบทความเต็มได้ที่นี่

1 comment:

Anonymous said...

я думаю: спасибо!! а82ч