Friday, July 07, 2006

สุนทรียะ = ไสยะ ?

“ ศาสตร์การออกแบบที่ไร้ศิลปะเป็นแรงส่ง
ย่อมแร้นแค้นถึงรากเหง้า ”
“ Design education without support from fine arts
is fundamentally impoverished. ”
Coldstream, 1960


บทความ " สุนทรียะ = ไสยะ ? " นำเสนอในการประชุมสาระศาสตร์เมื่อ ตุลาคม 2547
เขียนขึ้นเพราะอัดอั้นตันใจ จากการที่โดนมรสุมทางวิชาการ ว่าผมฝักใฝ่ศิลปะจนพาลูกศิษย์ที่เรียนวิชาการออกแบบ เข้ารกเข้าพงไปกับความเพ้อเจ้อของศิลปะ (อย่างที่หลายคนในเมืองไทยชอบโมเมเอาว่าศิลปะเป็นอย่างนั้น)

บทคัดย่อ
บทความนี้ เกิดจากประสบการณ์ตรงของผู้เขียนทั้งในฐานะผู้เรียนและผู้สอนของภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ทำให้ผู้เขียนสังเกตเห็นความขัดข้องในกระบวนการคิดของผู้เรียน และตั้งสมมติฐานว่าความขัดข้องดังกล่าวอาจเป็นผลมาจากวาทกรรมกระแสหลักว่าด้วยสุนทรียะที่แพร่ออกจากสถาบันอุดมศึกษาแห่งนี้ วาทกรรมดังกล่าวกล่าวว่า สุนทรียะเป็นส่วนเกินของงานออกแบบ ไม่ใช่เรื่องสำคัญของการออกแบบ และ(หากใช้คำว่า ศิลปะ แทนคำว่า สุนทรียะ)เป็นศาสตร์ที่แยกขาดจากศาสตร์การออกแบบ บทความนี้ ตั้งคำถามท้าทายวาทกรรมดังกล่าวว่า “สุนทรียะเป็น“หน้าที่” ของงานออกแบบ ได้หรือไม่” และ “สุนทรียะเป็น“ประเด็นหลัก” ของงานออกแบบ ได้หรือไม่” คำถามทั้งหลายนำไปสู่การเสนอทิศทางที่อาจช่วยให้ผู้สอนศาสตร์การออกแบบสามารถดึงเอาสุนทรียะกลับมาอยู่ในกระบวนการเรียนการสอนของภาควิชาฯอีกครั้งหนึ่ง และทั้งคำถามและข้อเสนอเหล่านี้อาจเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนในศาสตร์ใกล้เคียงกันในสถาบันอื่นๆ ซึ่งอาจได้รับอิทธิพลจากวาทกรรมที่กล่าวถึงในบทความนี้

ถ้าไม่เบื่อตายซะก่อน ตามไปอ่านบทความเต็มได้ที่นี่

Thursday, July 06, 2006

Power of Display - on curators in Thailand

อำนาจของ "ตู้โชว์":
ว่าด้วย curators ในเมืองไทย

เหตุเกิดเมื่อ 11 พฤษภา 2549
ผมรู้ด้วยสัญชาตญาณที่สั่งสมจากการทำงานทางทัศนศิลป์
ทั้งออกแบบและศิลปะมากว่า 20 ปี ว่า
ประติมากรรมที่ผมทำขึ้นใหม่เฉพาะสำหรับงานนี้
ต้องโดน "เล่นของ" อะไรสักอย่างแน่ๆ


อีกไม่กี่นาที ผมก็ต้องสยดสยองกับสิ่งที่แขวนอยู่

ปลายขอบผนังลายธงชาติ … งานของผมเองครับ
ประติมากรรมที่ผมเตรียมการและหลังขดหลังแข็ง

มาเกือบสองเดือน ถูก "รุมสังหาร" ด้วยแสงไฟ
สปอตไลท์อลังการตระการตานับสิบดวง จนขาวโพลนไปทั้งแผ่น
ทั้ง form ทั้ง texture ที่หลังขดหลังแข็งทำในสตูดิโอ
สูญสลายกลายเป็นแผ่นไฟเบอร์กลาสโง่ๆหนึ่งแผ่น
แอบอยุ่ที่มุมห้อง หลังเสาหนาเกือบครึ่งเมตร
อ่านทั้งตอน

Be with Brian in Rimbun Dahan Art Residence, KL, Malaysia, May 2006

เมษายน 2549 Brian คนข้างตัวของผม ได้รับทุน Artist in Residence จาก Rimbun Dahan ให้ไปนั่งเขียนบทความให้เสร็จหนึ่งบท ผมเลยโดนถูกชวนแกมบังคับให้ตามไปในช่วงท้ายของ residency period ซึ่งยาวหนึ่งเดือน (สำหรับ residence ชาติอื่นทีไม่ใช่มาเลเซียนหรือออสเตรเลียน สองชาติหลังนี้เป็นเด็กเส้น ได้สิทธิพิเศษ อยู่ได้ยาวหนึ่งปี พร้อมเงินเดือนให้สร้างงานของตัวเอง จะทำประติมากรรม จิตรกรรม หรือวรรณกรรม ก็ได้)

Rimbun Dahan เป็นคฤหาสน์ของสองสามีภรรยา สามีคือสถาปนิกใหญ่ชาวมาเลเซีย Hijjas Kasturi และ Angela Hijjas ภรรยาชาวออสเตรเลีย คฤหาสน์นี้ตั้งอยู่ประมาณ 30 นาทีจากกัวลาลัมเปอร์ แวดล้อมไปด้วยต้นไม้ยักษ์แบบป่าดงดิบ ใหญ่ขนาดพื้นที่หลายจุดในอาณาบริเวณมันทึบเสียจนแดดไม่เคยส่องถึง ตกกลางคืนก็มืดตึ๊ดตื๋อ แทบไม่เห็นแสงไฟจากภายนอก ยิ่งกว่าไปกางเต๊นท์อยู่ป่าเขาใหญ่อีกมั้ง แถมกลางวันแสกๆก็เห็นค้างคาวแม่ไก่เกือบสิบตัว คลานกระดึ๊บกระดึ๊บอยู่บนผนังสูงสามชั้นนอกห้องที่เราพัก อะจึ๋ยยยย ตกกลางคืน ก็ต้องปิดห้องน้ำให้ดี เพราะจะมีหนูยักษ์เข้ามากินสบู่ ที่รู้เพราะเพื่อนอาร์ติสท์คนอื่นเขาบอก เหวออออ เอ๊ะตอนแรกบอกเป็นคฤหาสน์ แต่ไหงฟังดูเป็นสลัมชอบกลลลล คืออย่างงี้ครับ คุณลุง Hijjas Kasturi แกเป็นสถาปนิกที่สนใจ การประยุกต์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเขากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ แกก็เลยออกแบบบ้านพักสำหรับอาร์ติสต์ทั้งหลายในหมู่ตึกรอบๆ Rimbun Dahan ให้ระบายอากาศได้ดี โดยไม่ต้องใช้แอร์

เอ่อออออออ ... ก็ดีอยู่หรอกครับ แนวคิดเรื่องประหยัดพลังงาน แต่เด็กห้องแอร์อย่างผม เกือบตายครับ คืนสุดท้ายผมเจ้าเล่ห์บอก Brian ว่าอยากแรดใน KL เราเข้าไปนอนในเมืองกันดีก่า เลยได้นอนแบบไม่มีหนูผสมค้างคาวแถมมีแอร์ รอดตัวไปหนึ่งคืน

แต่ก็ต้องชมคุณลุงคุณป้าแกนะครับว่า เป็นมหาเศรษฐีผู้มี vision ทางวัฒนธรรม แถมยังใจบุญเผื่อแผ่ช่วยส่งสริมให้คนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสสร้างงานอย่างไร้กังวล มีการซื้องานศิลปะสะสมโดยเฉพาะประติมากรรมกลางแจ้งวางแทรกอยู่ตามป่ารอบๆหมู่ตึก ไอ้ที่ผมถ่ายรูปตัวเองมานี่ก็หนึ่งอ้น แถมทุกปี คุณป้า Angela แกยังจัด charity art exhibition/auction ใหญ๋โตมโหฬาร ในหอศิลป์ใต้ดินในบริเวณคฤหาสน์นี้เอง เพื่อแสดงงานศิลปะที่เธอซื้อสะสมไว้จากศิลปินรุ่นใหม่ไฟแรงและมือดี เพื่อแสดงและออกประมูลหารายได้ให้กับ World Wide Life Fund

philanthropic gesture แบบนี้ หาไม่ค่อยได้ในเมืองไทย
ที่เห็นชัดๆ ทำจริงๆ ก็มีแต่ คุณสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ และที่ตามมาติดๆคือ คุณติ้ว แห่งเถ้าฮงไถ่ ราชบุรี _/\_ _/\_ _/\_

Wednesday, July 05, 2006

Pneuma, 1999 (successive views of the same installation)

1996-2000

Human Tablets, 1996, fired clay with specific lighting.
Maquettes for Pneuma 01, 1997, plaster of Paris with very subdue English summer dusky light.
Suspended Figures 01, 1998, two thin-shelled panels of fibreglass-reinforeced water-based polyesther/ wired, with specific lighting.
Suspended Figures (successive views) , 1998, two thin-shelled panels of fibreglass-reinforeced water-based polyesther/ wired, with specific lighting.
Prana, 1999, installation of sculpture with specific lighting, wood and fibreglass-reinforeced water-based polyesther.
Ether, 1998-2000, fibreglass-reinforeced water-based polyesther with specific lighting.
Pneuma (successive views of the same installation) , 1999, installation of sculpture with specific lighting, wood and fibreglass-reinforeced water-based polyesther.

The pieces represent the body of works generated from my doctoral research. It took almost one whole year before I could formulate my project. When I took off, it was almost as if I hadn't got a clue what I wanted to do; and all I did was pure instinct. Well, almost.

Ken Ford, a British Rome scholar, who was one of my second supervisors, as well as Andrew Stonyer's former PhD supervisor, told me off in front of Andrew during our first tutorial in Ocotber 1996,


"I wonder if you're capable of, or suitable for, a PhD."

Two months later, nobody raised that question ever again.