Sunday, April 27, 2008

From Surface to Origin

Journeys Through Recent Art From India and Thailand

สืบผล สู่ต้น: ท่องวิถีศิลปะร่วมสมัย จากอินเดียและไทย 14 มีนาคม - 12 เมษายน 2551
ศิลปิน: พิณรี สัณฑ์พิทักษ์ บิจู โจซ จอร์จ มาร์ติน พีจี นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์ เถกิง พัฒโนภาษ เบนิธา เพอร์เซียล เค

หอศิลป์โซลฟลาวเวอร์ ภูมิใจเสนอนิทรรศการศิลปะครั้งสำคัญ ซึ่งเป็นครั้งแรก ที่ศิลปินร่วมสมัยจากไทยและอินเดีย จะแสดงงานร่วมกัน. พร้อมกันนี้ หอศิลป์โซลฟลาวเวอร์ เปิดตัวหนังสือ From Surface to Origin ซึ่งรวบรวมผลงานของศิลปินร่วมสมัยคนสำคัญจากทั้งสองประเทศ. ดร. ไบรอัน เคอร์ติน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำหน้าที่เป็น ทั้ง curator ของนิทรรศการ และ บรรณาธิการของหนังสือนี้.
นิทรรศการ From Surface to Origin: Journeys Through Recent Art From India And Thailand (สืบผล สู่ต้น: ท่องวิถีศิลปะร่วมสมัย จากอินเดียและไทย) นำเสนอศิลปะร่วมสมัยเพื่อสำรวจกระบวนการทางทัศนศิลป์. จากจุดเริ่มที่ศิลปิน"ร่าง"งานศิลปะ (sketch) เพื่อ"ศึกษา" ไปจนถึงการใช้ศิลปะสะท้อนตัวตนประหนึ่งเป็นอัตตชีวประวัติของศิลปิน และกระบวนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน, นิทรรศการนี้จะพาผู้ชมร่วมเดินทางสู่ประสบการณ์ ทางกายภาพ, ทางอารมณ์ และความหมาย ในงานศิลปะร่วมสมัย. เราควรมองเพ่งเพื่อสำรวจตรวจสอบ. เราเราควรพินิจทะลุเลยเปลือกของรูปลักษณ์ ล่วงสู่วัตถุสภาวะและอวัตถุสภาวะ อันจะนำไปสู่สารัตถะของงานศิลปะ ทั้งที่เป็นจิตรกรรม ภาพถ่าย หรือ ประติมากรรม. ประเด็นหลักของนิทรรศการนี้ อยู่ที่การเข้าถึง ศิลปิน(และศิลปะ) ผ่านกระบวนการฝึกฝน, ประเด็นที่แต่ละคนหมกมุ่น, ไปจนถึงวิถีเฉพาะตน, รวมทั้งภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน. ส่วนหนังสือชื่อเดียวกับนิทรรศการ จะช่วยกำหนดบริบทเพื่อวิพากษ์ประเด็นว่าด้วย From Surface to Origin (สืบจากผล สู่ต้นกำเนิด)ผ่านบทสังเคราะห์โดยบรรดานักวิจารณ์ศิลปะเรืองนามซึ่งล้วนเชี่ยวชาญด้านศิลปะร่วมสมัยจากเอเชีย.

Distant Home, Still Lives





"What is the purpose, I wonder, of all this restlessness? I sometimes seem to myself to wander around the world merely accumulating material for future nostalgias."   From Heaven Lake, Vikram Seth 

 

When we were both graduate students in Wales, many years ago, I asked Canan Atalay why her paintings were always gray. She responded by showing me paintings she did before leaving her Ankara home; and I could see how the miserable Welsh weather affected her work, turning bright Mediterranean colors into sad and bitterly cold monochromes.

 

Mountains, oceans, ships and, especially, tulips and symbols of ‘home’ are recurrent motifs in Atalay’s paintings. These motifs may seem familiar but a particular significance lies in the sense of place and distance that Atalay captures. During those days in Wales I recall her paintings, as well as many other things she made, in terms of distant spaces. No matter how small her pieces were, the spaces seemed surprisingly vast.

 

Years have passed.  I am delighted to see bright colors seeping back into Atalay’s paintings.  Yet her images of tulips and home remain blurry and painfully distant, as if belonging to another, yet to be understood, realm. 

 

Atalay has written, [These motifs] provide the means of expressing and bracketing various emotional states that have led to identifying a sense of location. Nonetheless, do not confuse these motifs with representations of places far from her home.  Because they are not.  Images of tulips and symbols of home belong to her, not anyone else.  All these colors, gestures and painterly marks are there to form looking glasses through which the artist contemplates at her home from various ‘other’ places. She aims to consolidate varied emotional states; emotional states which have surfaced within in each place. The locality of where she paints always has to negotiate an iconic universality of her longing for home.  This is how her paintings transcend any implication of being mere autobiographical.


Distant Home, Still Lives เป็นบทที่ผมเพิ่งเขียนให้เพื่อนรัก Canan Atalay 

สำหรับสูจิบัตรนิทรรศการจิตรกรรมล่าสุดของเธอที่ Ankara ในตุรกี

รางวัลนิยม

ไม่ได้เขียนบล็อกนี้นานหลายเดือน จนมีคนถามหา  คราวนี้มาด้วยบทที่เขียนใหม่ให้จุลสารหน่อสาระ ของฝ่ายวิจัย คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ว่าด้วยผลงานของอาจารย์และนิสิตที่ได้รับรางวัล


หลายเรื่องที่ผมจะเล่า อาจจะเกี่ยวกัน หรือไม่เกี่ยวกันก็ได้
     ลองปะติดปะต่อ หาความนัยเอาเองนะึครับ 

1.

"น้องพรีเซนต์งานได้เพอร์เฟคท์ น้ำเสียง จังหวะจะโคนลงตัว เป็นมืออาชีพได้เลย"

กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ซึ่งเป็นนักออกแบบชื่อดัง     เปิดฉาก การตรวจวิทยานิพนธ์ ด้วยประโยคอะไรเทือกนี้     ผ่านไปกว่า 150 วินาที แกถึงได้เริ่มพูดถึงผลงานออกแบบ ถ้าผมไม่ได้กำหนดยุบหนอพองหนอ มีสติอยู่กับตัว    ก็คงเคลิ้มไปว่า  ผมอยู่ในรายการAcademy Fantasia

แนว มั่กมัก 

2.

ลุงสำเนา แห่งห้องธุรการของไอดี มีบอร์ดอยู่สองอัน    ที่แกใช้ติดโปสเตอร์เชิญชวนให้นิสิตส่งผลงานออกแบบเข้าประกวดชิงรางวัล   โปสเตอร์มีเยอะมาก จนซ้อนทับกัน เต็มทั้งสองบอร์ด      ไม่ใช่ลุงสำเนาแกไม่เอาของเก่าออก แต่ของใหม่มันโถมเข้ามาแทบทุกอาทิตย์    ถ้าใครเคยทำงานสิ่งพิมพ์ จะรู้ว่า บ่อยมากที่เงินรางวัล น้อยกว่าค่าพิมพ์โปสเตอร์สี่สีเสียอีก      ประกวดทำไมเนี่ย?

ทะแม่ง มั่กมัก

3.

ลูกศิษย์บ้าพลังเกือบสิบคน เป็นหนึ่งในเกือบสิบกลุ่ม จากมหาวิทยาลัยต่างๆที่สอนด้านการออกแบบ  เด็กพวกนี้ได้รับเลือกจากบริษัทอสังหาริมทรัพย์ชื่อแปลเป็นไทยได้ว่าผู้ดีไฮโซ      ให้ประกวดจัดปาร์ตี้แข่งกัน ในบ้านขนาดใหญ่อลังการ แต่ละกลุ่มต้องจัดปาร์ตี้ให้เต็มบ้านหนึ่งหลัง มีอาหารและเครื่องดื่มเพียบ แต่ละกลุ่มได้รับการ "สนับสนุน" หนึ่งหมื่นบาท     เจ้าพวกนี้โทรมาหาผมเพื่อขอยืมจานนับร้อยใบจากสต๊อคของโครงการวิจัยที่ผมทำอยู่ตอนนั้น ไปใช้ประกอบการจัดปาร์ตี้ ด้วยเหตุผลว่า งบที่บริษัทผุ้ดีให้มา ไม่พอ  

ก็มันจะพอได้อย่างไรล่ะหนู  แต่ครูสงสารก็จะให้

โน คอมเม้นต์  

4.

เดี๋ยวนี้ คณะเรามีวิชาเลือก ว่าด้วยการประกวดงานออกแบบ แล้ว   
ได้ข่าวว่า นิสิตที่ลงทะเบียน "เรียน" วิชานี้ เป็นขั้น เทพ ของชั้นปี เชียวนะ

เดี๋ยวนี้ เด็กไทย นิยมเรียนนิติศาสตร์ กับบริหารธุรกิจ มากเป็นอันดับหนึ่ง 
ล้ำหน้าหมอ กับวิศวะ


อันหลังนี่ อเมริกัน มั่กมัก

5.

วันก่อนผมง่วนทำงานอยู่หน้าสตูดิโอ ซึ่งก็คือโรงอาหารนั่นแหละ     พวกลูกศิษย์เขาคงสงสัยว่าผมหมกมุ่นทำบ้าอะไรอยู่ ดูไม่เห็นรู้เรื่อง    เลยเข้่ามากระแซะ อาสาเป็นลูกมือ ผมก็ดีใจให้เขาช่วย   ระหว่างทำก็คุยกันสัพเพเหระ ส่วนใหญ่เรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่องงานผม   ผ่านไป ห้านาที เขาถึงเริ่มยิงคำถามแรก เกี่ยวกับงานผม

"งานชิ้นนี้ อาจารย์ตั้งราคาไว้กี่บาท?"   (เอ่อ...ข้าก็รู้ว่าเอ็งเล่นหุ้่นได้กำไรอยู่ แต่่เอ็งไม่คิดจะถามก่อนเลยรึว่า ไอ้ที่ข้าก้มหน้่าก้มตาทำอยู่นี่ มีความคิดเบื้องหลังอะไรบ้าง   เอ๊ะ...หรือว่าข้าบ้าไปคนเดียว?)

กิมเอ็ง มั่กมัก

6.

ลูกศิษย์คนหนึ่ง  เดินเข้ามาหาผม ยกมือไหว้ท่วมหัว พูดซื่อๆ ถึงงานของเขา   ที่ตัวเขาเองรู้ดีว่า ไม่สมควรได้คะแนนดี      พูดซื่อๆแต่กินความหมายว่า เขารู้นะ ว่าครูของเขาหวังจะเห็นผลงานที่มีคุณภาพ เขารู้นะว่ามาตรฐาน มันอยู่ตรงไหน   เขาพูดสั้นๆว่า

"อาจารย์ครับ ผมขอโทษ ที่ทำให้ผิดหวัง"

ผมน้ำตาเล็ดเลยครับ