Thursday, September 24, 2009

test

test

Sunday, April 27, 2008

From Surface to Origin

Journeys Through Recent Art From India and Thailand

สืบผล สู่ต้น: ท่องวิถีศิลปะร่วมสมัย จากอินเดียและไทย 14 มีนาคม - 12 เมษายน 2551
ศิลปิน: พิณรี สัณฑ์พิทักษ์ บิจู โจซ จอร์จ มาร์ติน พีจี นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์ เถกิง พัฒโนภาษ เบนิธา เพอร์เซียล เค

หอศิลป์โซลฟลาวเวอร์ ภูมิใจเสนอนิทรรศการศิลปะครั้งสำคัญ ซึ่งเป็นครั้งแรก ที่ศิลปินร่วมสมัยจากไทยและอินเดีย จะแสดงงานร่วมกัน. พร้อมกันนี้ หอศิลป์โซลฟลาวเวอร์ เปิดตัวหนังสือ From Surface to Origin ซึ่งรวบรวมผลงานของศิลปินร่วมสมัยคนสำคัญจากทั้งสองประเทศ. ดร. ไบรอัน เคอร์ติน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำหน้าที่เป็น ทั้ง curator ของนิทรรศการ และ บรรณาธิการของหนังสือนี้.
นิทรรศการ From Surface to Origin: Journeys Through Recent Art From India And Thailand (สืบผล สู่ต้น: ท่องวิถีศิลปะร่วมสมัย จากอินเดียและไทย) นำเสนอศิลปะร่วมสมัยเพื่อสำรวจกระบวนการทางทัศนศิลป์. จากจุดเริ่มที่ศิลปิน"ร่าง"งานศิลปะ (sketch) เพื่อ"ศึกษา" ไปจนถึงการใช้ศิลปะสะท้อนตัวตนประหนึ่งเป็นอัตตชีวประวัติของศิลปิน และกระบวนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน, นิทรรศการนี้จะพาผู้ชมร่วมเดินทางสู่ประสบการณ์ ทางกายภาพ, ทางอารมณ์ และความหมาย ในงานศิลปะร่วมสมัย. เราควรมองเพ่งเพื่อสำรวจตรวจสอบ. เราเราควรพินิจทะลุเลยเปลือกของรูปลักษณ์ ล่วงสู่วัตถุสภาวะและอวัตถุสภาวะ อันจะนำไปสู่สารัตถะของงานศิลปะ ทั้งที่เป็นจิตรกรรม ภาพถ่าย หรือ ประติมากรรม. ประเด็นหลักของนิทรรศการนี้ อยู่ที่การเข้าถึง ศิลปิน(และศิลปะ) ผ่านกระบวนการฝึกฝน, ประเด็นที่แต่ละคนหมกมุ่น, ไปจนถึงวิถีเฉพาะตน, รวมทั้งภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน. ส่วนหนังสือชื่อเดียวกับนิทรรศการ จะช่วยกำหนดบริบทเพื่อวิพากษ์ประเด็นว่าด้วย From Surface to Origin (สืบจากผล สู่ต้นกำเนิด)ผ่านบทสังเคราะห์โดยบรรดานักวิจารณ์ศิลปะเรืองนามซึ่งล้วนเชี่ยวชาญด้านศิลปะร่วมสมัยจากเอเชีย.

Distant Home, Still Lives





"What is the purpose, I wonder, of all this restlessness? I sometimes seem to myself to wander around the world merely accumulating material for future nostalgias."   From Heaven Lake, Vikram Seth 

 

When we were both graduate students in Wales, many years ago, I asked Canan Atalay why her paintings were always gray. She responded by showing me paintings she did before leaving her Ankara home; and I could see how the miserable Welsh weather affected her work, turning bright Mediterranean colors into sad and bitterly cold monochromes.

 

Mountains, oceans, ships and, especially, tulips and symbols of ‘home’ are recurrent motifs in Atalay’s paintings. These motifs may seem familiar but a particular significance lies in the sense of place and distance that Atalay captures. During those days in Wales I recall her paintings, as well as many other things she made, in terms of distant spaces. No matter how small her pieces were, the spaces seemed surprisingly vast.

 

Years have passed.  I am delighted to see bright colors seeping back into Atalay’s paintings.  Yet her images of tulips and home remain blurry and painfully distant, as if belonging to another, yet to be understood, realm. 

 

Atalay has written, [These motifs] provide the means of expressing and bracketing various emotional states that have led to identifying a sense of location. Nonetheless, do not confuse these motifs with representations of places far from her home.  Because they are not.  Images of tulips and symbols of home belong to her, not anyone else.  All these colors, gestures and painterly marks are there to form looking glasses through which the artist contemplates at her home from various ‘other’ places. She aims to consolidate varied emotional states; emotional states which have surfaced within in each place. The locality of where she paints always has to negotiate an iconic universality of her longing for home.  This is how her paintings transcend any implication of being mere autobiographical.


Distant Home, Still Lives เป็นบทที่ผมเพิ่งเขียนให้เพื่อนรัก Canan Atalay 

สำหรับสูจิบัตรนิทรรศการจิตรกรรมล่าสุดของเธอที่ Ankara ในตุรกี

รางวัลนิยม

ไม่ได้เขียนบล็อกนี้นานหลายเดือน จนมีคนถามหา  คราวนี้มาด้วยบทที่เขียนใหม่ให้จุลสารหน่อสาระ ของฝ่ายวิจัย คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ว่าด้วยผลงานของอาจารย์และนิสิตที่ได้รับรางวัล


หลายเรื่องที่ผมจะเล่า อาจจะเกี่ยวกัน หรือไม่เกี่ยวกันก็ได้
     ลองปะติดปะต่อ หาความนัยเอาเองนะึครับ 

1.

"น้องพรีเซนต์งานได้เพอร์เฟคท์ น้ำเสียง จังหวะจะโคนลงตัว เป็นมืออาชีพได้เลย"

กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ซึ่งเป็นนักออกแบบชื่อดัง     เปิดฉาก การตรวจวิทยานิพนธ์ ด้วยประโยคอะไรเทือกนี้     ผ่านไปกว่า 150 วินาที แกถึงได้เริ่มพูดถึงผลงานออกแบบ ถ้าผมไม่ได้กำหนดยุบหนอพองหนอ มีสติอยู่กับตัว    ก็คงเคลิ้มไปว่า  ผมอยู่ในรายการAcademy Fantasia

แนว มั่กมัก 

2.

ลุงสำเนา แห่งห้องธุรการของไอดี มีบอร์ดอยู่สองอัน    ที่แกใช้ติดโปสเตอร์เชิญชวนให้นิสิตส่งผลงานออกแบบเข้าประกวดชิงรางวัล   โปสเตอร์มีเยอะมาก จนซ้อนทับกัน เต็มทั้งสองบอร์ด      ไม่ใช่ลุงสำเนาแกไม่เอาของเก่าออก แต่ของใหม่มันโถมเข้ามาแทบทุกอาทิตย์    ถ้าใครเคยทำงานสิ่งพิมพ์ จะรู้ว่า บ่อยมากที่เงินรางวัล น้อยกว่าค่าพิมพ์โปสเตอร์สี่สีเสียอีก      ประกวดทำไมเนี่ย?

ทะแม่ง มั่กมัก

3.

ลูกศิษย์บ้าพลังเกือบสิบคน เป็นหนึ่งในเกือบสิบกลุ่ม จากมหาวิทยาลัยต่างๆที่สอนด้านการออกแบบ  เด็กพวกนี้ได้รับเลือกจากบริษัทอสังหาริมทรัพย์ชื่อแปลเป็นไทยได้ว่าผู้ดีไฮโซ      ให้ประกวดจัดปาร์ตี้แข่งกัน ในบ้านขนาดใหญ่อลังการ แต่ละกลุ่มต้องจัดปาร์ตี้ให้เต็มบ้านหนึ่งหลัง มีอาหารและเครื่องดื่มเพียบ แต่ละกลุ่มได้รับการ "สนับสนุน" หนึ่งหมื่นบาท     เจ้าพวกนี้โทรมาหาผมเพื่อขอยืมจานนับร้อยใบจากสต๊อคของโครงการวิจัยที่ผมทำอยู่ตอนนั้น ไปใช้ประกอบการจัดปาร์ตี้ ด้วยเหตุผลว่า งบที่บริษัทผุ้ดีให้มา ไม่พอ  

ก็มันจะพอได้อย่างไรล่ะหนู  แต่ครูสงสารก็จะให้

โน คอมเม้นต์  

4.

เดี๋ยวนี้ คณะเรามีวิชาเลือก ว่าด้วยการประกวดงานออกแบบ แล้ว   
ได้ข่าวว่า นิสิตที่ลงทะเบียน "เรียน" วิชานี้ เป็นขั้น เทพ ของชั้นปี เชียวนะ

เดี๋ยวนี้ เด็กไทย นิยมเรียนนิติศาสตร์ กับบริหารธุรกิจ มากเป็นอันดับหนึ่ง 
ล้ำหน้าหมอ กับวิศวะ


อันหลังนี่ อเมริกัน มั่กมัก

5.

วันก่อนผมง่วนทำงานอยู่หน้าสตูดิโอ ซึ่งก็คือโรงอาหารนั่นแหละ     พวกลูกศิษย์เขาคงสงสัยว่าผมหมกมุ่นทำบ้าอะไรอยู่ ดูไม่เห็นรู้เรื่อง    เลยเข้่ามากระแซะ อาสาเป็นลูกมือ ผมก็ดีใจให้เขาช่วย   ระหว่างทำก็คุยกันสัพเพเหระ ส่วนใหญ่เรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่องงานผม   ผ่านไป ห้านาที เขาถึงเริ่มยิงคำถามแรก เกี่ยวกับงานผม

"งานชิ้นนี้ อาจารย์ตั้งราคาไว้กี่บาท?"   (เอ่อ...ข้าก็รู้ว่าเอ็งเล่นหุ้่นได้กำไรอยู่ แต่่เอ็งไม่คิดจะถามก่อนเลยรึว่า ไอ้ที่ข้าก้มหน้่าก้มตาทำอยู่นี่ มีความคิดเบื้องหลังอะไรบ้าง   เอ๊ะ...หรือว่าข้าบ้าไปคนเดียว?)

กิมเอ็ง มั่กมัก

6.

ลูกศิษย์คนหนึ่ง  เดินเข้ามาหาผม ยกมือไหว้ท่วมหัว พูดซื่อๆ ถึงงานของเขา   ที่ตัวเขาเองรู้ดีว่า ไม่สมควรได้คะแนนดี      พูดซื่อๆแต่กินความหมายว่า เขารู้นะ ว่าครูของเขาหวังจะเห็นผลงานที่มีคุณภาพ เขารู้นะว่ามาตรฐาน มันอยู่ตรงไหน   เขาพูดสั้นๆว่า

"อาจารย์ครับ ผมขอโทษ ที่ทำให้ผิดหวัง"

ผมน้ำตาเล็ดเลยครับ

Wednesday, September 19, 2007

นิทรรศการ Paper Ranger กระดาษจอมป่วน

อีกครั้ง…สำหรับยอดมนุษย์กระดาษ มาคราวนี้ไม่ได้มาเพียงลำพัง
ยังพาเพื่อนมาป่วนยกแก๊งค์ ร่วมกับ Mormor Creative Forum

มาบอกเคล็ดลับช่วยโลกอย่างง่ายๆ


ดูรายละเอียดมากมายเกี่ยวกับ Paper Ranger ได้ที่นี้
ที่ Industrial Design Gallery จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตรงป้ายรถเมล์หน้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

นิทรรศการนี้ สนับสนุนโดยธุรกิจจิตใจดี คือ
Practika and Q-Ads. ข้าน้อยขอคารวะน้ำใจท่านสปอนเซอร์!!!!

Sunday, June 17, 2007

อนาถ อนาคต มหาวิทยาลัยไทย

บังเอิญเข้าไปในเว็บบอร์ดที่ผมเข้าไปอ่านเป็นประจำ มีน้องคนนึงเขาโพสต์ถาม จบปริญญาตรี แล้วอยากเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่ห่วงเรื่องเงินเดือน+รายได้ ผมเลยตอบเขาไป ดังต่อไปนี้

1. มหาวิทยาลัยอันดับต้นๆของเมืองไทยไม่รับอาจารย์ใหม่ที่จบปริญญาตรีหรือโทแล้วครับ รับแต่ปริญญาเอก ยกเว้นจะสิ้นไร้ไม้ตอกหาไม่ไ้ด้จริงๆ (ซึ่งก็บ่อยครับ เพราะถึงจะกำหนดไว้อย่างนั้น รัฐบาลก็ไม่ค่อยมีทุนส่งไปเรียนต่อปริญญาเอก ใครมันจะบ้าไปเรียนเองล่ะครับ ยกเว้นเป็นเศรษฐี+บ้า ในตัวเดียวกัน)จึงต้องลองหาข้อมูลจากมหาวิทยาลัยที่คุณสนใจจะทำงานด้วยให้แน่นอนก่อนครับ

2. อาจารย์ใหม่แทบทั้งหมด ตอนนี้ไม่ได้เป็นข้าราชการแล้วครับเขาเรียกพนักงานมหาวิทยาลัย (หรือชื่ออะไรคล้ายๆนี้ ตามแต่ละมหาวิทยาลัย) ซึ่งมีระบบการจ้างต่างจากข้าราชการโดยปกติจะได้เงินเดือนโดยคิดจากเงินเดือนของข้าราชการในระดับที่เท่ากัน แล้วคูณด้วย 1.7 นั่นเป็นเหตุว่าทำไมเงินเดือนเริ่มแรกของอาจารย์ระดับปริญญาเอก จึงได้ไม่ถึง 20000 บาทครับ (เรียนแทบตาย เหอเหอเหอ)


3. ภายใต้ระบบใหม่นี้ ไอ้ตัวคูณ 1.7 คิดสะระตะจากสิทธิประโยชน์ต่างๆที่เคยได้รับจากระบบเดิม โดยเฉพาะค่ารักษาพยาบาลของบุตร-ภรรยา-สามี-พ่อแม่-และตัวเองพนักงานมหาวิทยาลัยทุกคน ซึ่งโดนยกเลิกหมดพร้อมบำเหน็จบำนาญ แล้วโดนบังคับให้จ่ายเงินประกันสังคมทุกเดือน เวลาไปโรงพยาบาลเขาก็แยกไปไว้คลีนิคต่างหาก ป่วยหนักขนาดไหนก็ได้ยา พารา+อะมอกซิซิลลิน (ประหยัดสุดๆ ประหยัดกว่าพวกบัตรทองอีกครับ และพนักงานมหาวิทยาลัย ไม่มีสิทธิทำบัตรทองของพี่ทักกี้นะคร้าบบบบบบ) ตอนนี้ผมเจียดเงินเดือนตัวเองซื้อประกันสุขภาพแล้วครับ ไม่ไหวจริงๆ ว่างๆจะเดินเข้าไปทะเลาะกับฝ่ายการคลังของมหาวิทยาลัย ขอเลิกจ่ายเงินประกันเส็งเคร็งให้รัฐบาลซะที ไม่เคยให้อะไรกรูเลยครับ มีแต่ดูดกรูไป


4.ไม่มีเงินประจำตำแหน่ง ผศ. รศ. หรือ ศ. แล้วครับแต่เืมื่อได้ตำแหน่งทางวิชาการพวกนี้ จะได้ปรับเงินเดือนกระโดดข้ามไปค่อนข้างมาก


5.แต่ไอ้ที่ว่ามาก ก็ไม่มากมายอะไร น้อยจนเกินจริงครับส่วนที่รีบนๆบอกว่าบางคนรับเป็นแสน ทำ consult อย่างนั้นเขาเรียกรับจ๊อบ ค้าฝิ่น ขายยาแสบแ_ด ครับ


6.ทราบไหมครับว่า เงินเดือนศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยอันดับต้นๆของไทย น้อยกว่าเงินเดือน ผู้พิพากษา นายพล อัยการ ตำรวจ และข้าราชการอีกหลายสาย ไม่นับไอ้พวกลูกศิษย์ที่จบไปแผล็บเดียว เงินเดือนก้าวพรวดๆๆๆๆๆ เลยครับ


7.คนที่ยังทนทำอยู่ รวมทั้งผมด้วย ส่วนใหญ่อยู่ด้วยใจครับ ไอ้ที่ตั้งหน้าตั้งตากอบโกย เกาะตำแหน่งเพื่อหาผลประโยชน์โดยไม่ได้มีจิตใจเป็นครู ไม่สนใจประโยฃน์ของประเทศชาติ ก็มีอยู่เป็นธรรมดาครับ ที่ไหนก็มี


แต่ผมก็ไม่บังอาจไปว่าคนที่เขารับจ๊อบหรอกครับ
โดยหลักการแล้ว อาจารย์มหาวิทยาลัย ทำหน้าที่ผลิตมันสมองให้ประเทศ
แล้วแมร่งยังดูแลกัน เอี้ยยยยยยยยยยขนาดนี้ จะให้เขาทำยังไงล่ะครับ

8.พอเศรษฐกิจเฟื่องฟูขึ้นมา รับรองว่ามหาวิทยาลัยของรัฐเกิดสมองไหลระดับเกือบสิ้นซากแน่ๆ โดยเฉพาะสายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิศวกรรม และอะไรที่เขาชอบใช้คอนซัลท์ และหาเงินง่ายๆน่ะครับ) เคยเกิดมาแล้วด้วยครับเมื่อเกือบยี่สิบปีก่อนนี้

9.ทั้งหมดนี้เป็นความเ้ลวของนักการเมืองไทยทั้งระบบครับลองดูสิครับว่าการปฏิรูปการศึกษามันล้มมากี่ครั้งแล้วครับ กี่ครั้งๆนักการเมืองก็โทษข้าราชการ และคนในระบบ (แน่นอนในระบบมันก็มีคนไม่ดี ไร้ประสิทธิภาพ แต่คนเหล่านั้น ไม่ได้มีอำนาจอะไรมากมายนี่ครับ ตราบใดที่การกำหนดนโยบายและทิศทางของการบริหารการศึกษามันตั้งใจจะให้มีประสิทธิภาพจริงๆ มันต้องได้ดีกว่าสภาพ เอี้ยๆ อย่างทุกวันนี้)

10.ทฤษฎีสมคบคิดที่ผมเชื่อโดยหาหลักฐานไม่ได้เพราะไม่มีมือมีตีนไปหา มีอยู่ว่า ไอ้พวกนักการเมืองแมร่งไม่อยากให้ปฏิรูปการศึกษา สำเร็จหรอกครับ ไม่ว่าระดับไหน ประถม มัธยม อุดม
เหตุผลง่ายๆครับ
มันจะได้หลอกคนไทยไปวันๆ ไปได้อีกนานแสนนาน
ดูอย่างวิดีโอที่สนามหลวงสิครับ เหอเหอ

Saturday, June 02, 2007

DesignEd update1

หนึ่งในบรรดามหาจุลโปรเจคท์(แปลว่าโปรเจ็คท์กะจี้รี่มั่กมัก) ที่ผมแส่เข้าไปเริ่มหรือช่วยให้เขาเริ่มขึ้นมา คือ DesignEd workshop (อ่านว่า ดีซายเอ็ด ครับ) ซึ่งผมรับลูกมาจากพีท คมพิชญ์ เด็กไทยซึ่งกำลังจะจบป.โทจากหลักสูตร Master of European Designพีท ร่วมกับสหายจากหลายชาติ มีอิตาเลียน เยอรมัน บลาๆๆ ทำเวิร์คชอปทางการออกแบบร่วมกับนักเรียนระดับปริญญาตรี ในโรงเรียนออกแบบที่อยู่ในเครือข่ายของ Master of European Design มาหลายหนแล้ว หนนี้เกิดมันเขี้ยว อยากมาจัดในเมืองไทย เคราะห์หามยามร้าย พีทเจอมือดีอย่างอาจารย์สันติ ส่งต่อให้มาคุยกับผม ก็เลยเป็นเรื่องเป็นราว ปวดกบาลกันยังไม่สิ้นไม่สุด

Anyway ตอนนี้เราทำงานกันมาจนเกือบได้ฤกษ์รับสมัครนิสิตจุฬาให้เข้ามาร่วมโครงการนี้แล้ว ซึ่งเราจำกัดกันไว้แค่ 25 คนเท่านั้น ใครตามอ่านบล็อกนี้ ก็คอยฟังข่าวจาก
http://www.blogger.com/www.idchula.blogspot.com นะครับ หรือไม่ก็คลิกตรงนี้ หรือไม่ก็ตรง ไอ้รูปสีชมพูคู่ใจฟ้าเอย ที่ไม่มีอะไรเกี่ยวกับโรงเรียนสวนกุหลายเล้ย แต่มันจะพาคุณดิ่งไปที่เว็บ DesignEd อย่ามัวแต่อ่านข่าวตาป้องโดนต้นจามจุรีโค่นทับ หรือ gossip เรื่องคุณสมโชคเป็นคนเดียวกับคุณสำเนา

เรื่องที่น่าดีใจก็คือ ตอนนี้ผมไปเจ๊าะแจ๊ะหาสปอนเซอร์สำหรับการทำนิทรรศการมาได้รวมแล้ว 5 ราย มหัศจรรย์มั่กมัก ด้วยบุญฤทธิ์+อิทธิฤทธิ์ ของอาจารย์ทิพย์สุดาคร้าบ
_/\_ _/\_
เราก็เลยพร้อมแล้วที่จะตีปี๊บกันให้ไอดีมีเสียงดังขึ้นมาอีกนิด สำหรับใครที่ไ้่ม่ได้เข้ามาร่วม workshop ก้ออย่างอนตุ๊บป่องไปล่ะ ยังไงซะก้อเข้ามาแจมๆ ช่วยๆกันหน่อยเด้่อ ผมทำงานนี้จนจะรากเลือดอยู่แล้ว ถ้าตอนลงมือไม่มีนิสิตมาช่วย กรุซวยแน่่ ขอร้องล่ะครับท่านนนน

Coming Closer: Thai-German art connection

หลายเดือนมานี้ ชีวิตผมวุ่นวายสายตัวแทบขาด จะโทษใครก็ไม่ได้ เพราะทำตัวเป็นจอมโปรเจ็คท์เอง สมน้ำหน้า ผมเลยเลิกเขียนที่นี่ไปพักใหญ่ พอนึกออกได้ช่วงที่คนข้างตัวบินหนีไปเป็น art critic in residence ที่ red gate gallery กลางเมืองปักกิ่งหนึ่งเดือน ผมเลยไม่มีใครคอยกวนตั้งคำถามintellectual ก็เลยนึกถึงบล็อกนี้ขึ้นมาครับ คราวนี้มารายงาน

นิทรรศการศิลปะไทย-เยอรมัน "COMING CLOSER"
พวกเราหลายคนไปรวมตัวกันในวันเปิด ที่คนมากันล้นหลาม เพราะศิลปินฝ่ายไทยที่ร่วมแสดงมในงานนี้ ล้วนเข้าขั้น Celeb ทั้งนั้น ในบรรดางานทั้งหลาย มีชิ้นหนึ่งที่ได้ใจมั่กมัก คืองานของเพื่อนกันเอง อาจารย์ติ้ว วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ (เขียนนามสกุลผิดอีกหรือเปล่าหว่า??) .................จานติ้วแกทำประติมากรรมเซรามิกออกมาได้อลังการกวนโอ๊ยสุดขีด ราวกับยกร้ายเบเกอรี่หวานแสบไส้เอามาไว้กลางหอศิลป์แห่งชาติปานนั้น ที่ชอบไม่ใช่เพราะอารมณ์ขันประชดประชันสุดริด แต่ผมคิดว่างานนี้ หลังจากเล่นแร่แปรธาตุมาพักใหญ่ เอิ่มมมม.... จานติ้วตกผลึกความคิด เป็นน้ำตาลไอซิ่งครับ
COMING CLOSER site

ข้อมูลนิทรรศการ คลิกดูได้ตรงนี้
Asia Art Archive
DaimlerChrysler News Archive

Thursday, May 03, 2007

The Fascination of Appearances

ผมเพิ่งรอดชีวิตมาจากการแปลบทวิจารณ์งาน Tam: the Boxer ที่ Brian Curtin เขียนให้ Hanspeter Ammann
ให้ตายเถอะครับ ยังไม่เคยแปลงานไหนยากขนาดนี้มาก่อน คือผมว่างานเขียนที่ยากกว่าของไบรอันก็มีอยู่เต็มไปหมด แต่ผมไม่สะแหลนไปแปลของเขา แต่งานนี้โดนฮานส์ปีเตอร์มันบังคับน่ะ เล่นเอาปวดมวนท้องไปเป็นเดือน แปลเสร็จแล้ว ยังมานั่งอ่านทวน...เอาอีกแล้ว นี่กรุแปลผิดนี่หว่า

ที่มันยาก ก็เพราะคำที่ใช้มันมีรากมาจากทฤษฎีวิพากษ์ซึ่งมันซับซ้อนซ่อนเงื่อน ตอนแรกผมก็แปลมันตรงๆทื่อๆก่อน เพราะสิ้นคิด ไม่รู้จะทำยังไงแล้ว เสร็จแล้วจึงมาค่อยอ่านทวน ยื่นให้คนนู้นคนนี้อ่าน ซึ่งส่วนใหญ่เขาก็ไม่บอกกันว่าอ่านไม่รู้เรื่อง แต่ดูสีหน้าแล้วมันคงอยากบอกว่า มรึงแปลอารายของมรึงฟระ? เอาแค่คำว่า objectify ก็สลบเหมือดแล้วครับ เพราะมันมีความหมายอธิบายได้เป็นหน้าๆเป็นเล่มๆ

ถ้าสนใจลองอ่านเทียบ original English text ของไบรอัน เทียบกับบทแปลเป็นภาษาไทยของผมดูสิ แล้วจะรู้ซึ้งถึงความปวดมวนท้องสมองกิ่วของคนแปลอย่างผม

Sunday, February 04, 2007

Ripples

ผมเพิ่งเสร็จงานเขียน text สำหรับ TAM's Book ซึ่งเป็น art book เล่มใหม่ของ Hanspeter Ammann
ตอนแรกกะจะเขีบนเป็น short essay แต่ไปไงมาไงก็ไม่รู้ ออกมาเป็นคล้ายๆไฮกุ
หนังสือนี้รวบรวมภาพนิ่งที่เกิดจากวิดีโออาร์ตชุดใหม่เกี่ยวกับนักมวยไทยชื่อ ตั้ม (TAM) ของฮานส์ปีเตอร์-นักจิตวิเคราะห์ที่เป็นหนึ่งในผู้เริ่มขบวนการวิดีโออาร์ตในยุโรปเมื่อทศวรรษที่ 1980 และยังทำงานต่อเนื่องทั้งสองอย่าง กับทั้งสอนศิลปะไปทั่วยุโรป และเอเชีย โดยเฉพาะฮ่องกง มาเก๊า จีน และไทย ฮานส์ปีเตอร์เขาชอบ text ที่ผมเขียนให้มาก หลังจากถกกันเกี่ยวกับท่อนสุดท้ายอยู่นาน จนผมบอกว่า 'To sum up what I've written, you see yourself in the boxer!'
เล่นเอา อีตาฮานส์ปีเตอร์ เกือบน้ำตาเล็ด เอ๊ะ หรือผมคิดเงินแกค่าบริการจิตวิเคราะห์ดีหว่า???????????

Ripples
10 hours from Bangkok, a banner by a remote beach reads,
'New fashion from Bangkok'.
In the heart of Bangkok Metropolis, a giant billboard boasts,
'New fashion from Paris'.

They say in France,
Apichatpong is more revered than Madonna
since Tropical Malady
won the Prix du Jury at Cannes.

Though been so far,
I feel even closer to home.
Having seen beauty in others,
I see my own.

หนังสือนี้ออกแบบโดย ตู่ อธิโชค พิมพ์วิริยะกุล แห่งสำนักพิมพ์ช่องเปิดของเขาเอง และจะวางจำหน่ายทั้งในเมืองไทย จีน ฮ่องกง และในยุโรป
สนใจข้อมูลเพิ่มเติม ไปที่ http://voidpub.blog.com/International+Book/
สนใจข้อมูลเกี่ยวกับวิดีโอาร์ต ไปที่ http://www.vdb.org/
สนใจดูตัวอย่างวิดีโออาร์ตเกี่ยวกับ TAM's book ไปที่ http://voidpub.blog.com/International+Book/
อันนี้รัฐบาลสวิส ออกเงินจ้างให้ทำ เพื่อฉายก่อนฉายหนังในโรงหนังทั่วสวิส หนับหนุนศิลปะ ไม่เหมือนรัฐบาลไทย ไอเดียมันคือเล่นกับสถานะของ Swiss passport ซึ่งมีค่ามากในยุโรป โดยเฉพาะช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ที่หนีตายจากฮิตเลอร์ เพราะสวิสพาสปอร์ด มันสามารถผ่านได้ทั่ว